ผึ้งรวงในประเทศไทย

 

 

ผึ้งเป็นแมลงสังคมชนิดหนึ่ง ที่จะเก็บสะสมน้ำหวานจากดอกไม้มาบ่มเป็นน้ำผึ้ง เพื่อเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตและเก็บเกสรจากดอกไม้เพื่อเป็นอาหารโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ในบรรดาผึ้งที่เราพบอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 5 ประเภท คือ ผึ้งหลวง ผึ้งมิ้ม ผึ้งม้าม ผึ้งโพรง เป็นผึ้งที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย และผึ้งพันธุ์เป็นผึ้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศแถบยุโรป อเมริกา เป็นต้น

ชนิดของผึ้ง

1.ผึ้งหลวง (Apis dorsata frabicius)  

  • เป็นผึ้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในผึ้ง 4 พวก   มีลักษณะตัวใหญ่
  • ลำตัวยาวรี ประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ปกคลุมรังเพื่อทำหน้าที่ป้องกันรัง รวงผึ้งมีขนาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 10,000 – 80,000 ตัวต่อรัง เป็นรวงชั้นเดียว หรือรวงเดียว บางครั้งอาจมีความกว้างถึง 2 เมตร ลักษณะรวงทั่วไปจะโค้งรีเป็นรูปครึ่งวงกลมจะติดอยู่ใต้กิ่งไม้ หน้าผา โขดหิน หรือมุมตึกที่อยู่สูง ๆ เป็นที่โล่งแจ้งซึ่งจะมีร่มเงาที่ไม่ร้อนเกินไป บางครั้งในที่เดียวกันอาจมีผึ้งเกาะรวมกันมากกว่า 50 รัง ผึ้งหลวงจะดุร้ายเมื่อถูกรบกวนหรือทำลายและจะรุมต่อยศัตรูของมัน นับเป็นสิบถึงร้อยตัว เนื่องจากผึ้งหลวงเป็นผึ้งตัวใหญ่จึงมีพิษมากในเหล็กไน จึงทำให้ศัตรูของมันได้รับบาดเจ็บสาหัสได้
  • ผึ้งหลวงเป็นผึ้งที่มีขนาดใหญ่ จึงสามารถบินไปหาอาหารได้ไกล บางครั้งรังหนึ่งอาจจะมีน้ำผึ้งถึง   15กิโลกรัม แต่เนื่องจากพฤติกรรมของผึ้งหลวงจะชอบทำรังในที่โล่งแจ้งและอยู่ที่สูง ไม่ชอบให้ถูกรบกวน จึงไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้ แต่ควรจะอนุรักษ์ให้มีอยู่ในธรรมชาติ เพราะต้นไม้หลายชนิดต้องการผึ้งหลวงเป็นแมลงช่วยผสมเกสรเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
  • ขนาดของผึ้งหลวง ขนาดลำตัวยาว 17-19 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 5 มิลลิเมตร ความยาวของลิ้น  6-7มิลลิเมตร

  1. ผึ้งมิ้ม (Apis florea)
  •  เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็กที่สุด  มีขนาดใกล้เคียงกับแมลงวันบางครั้งจึงเรียกว่าผึ้งแมลงวัน ประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ปกคลุมรังเช่นเดียวกับผึ้งหลวง รวงผึ้งมีขนาดเล็ก มีประชากรประมาณ 3,000 – 15,000 ตัว/รัง เป็นรวงชั้นเดียวมีรูปร่างเกือบเป็นวงกลม บางครั้งก็เป็นรูปไข่ไก่ มีขนาดตั้งแต่ 10 ซม. ถึง 30 ซม. รวงผึ้งจะทำติดอยู่กับกิ่งไม้ ในพุ่มไม้เตี้ย ๆ เช่น ในกอไผ่ ลักษณะรวงผึ้งจะทำค่อมกิ่งไม้ (ซึ่งส่วนของน้ำผึ้งจะอยู่ค่อมรอบกิ่งไม้) การบินไปหาแหล่งอาหารและการส่งภาษาผึ้งจะกระทำอยู่บนส่วนของรวง เนื่องจากเป็นผึ้งขนาดเล็กและบินหาอาหารได้ไม่ไกลนัก จึงทำให้มีน้ำผึ้งน้อยและมีการอพยพทิ้งรังบ่อย จึงไม่สามารถนำมาเลี้ยงได้เหมือนผึ้งพันธุ์
  • ขนาดของผึ้งมิ้ม ขนาดลำตัวยาว 7 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 2.60 มิลลิเมตร ความยาวของลิ้น 3.40 มิลลิเมตร

  1. ผึ้งโพรง (Apiscerana) 
  • เป็นผึ้งที่มีขนาดกลาง   ตัวเล็กกว่าผึ้งพันธุ์แต่ใหญ่กว่าผึ้งมิ้ม เป็นผึ้งที่มีวิวัฒนาการที่สูงกว่าผึ้งมิ้มและผึ้งหลวง โดยที่จะสร้างรังอยู่ในที่มืดได้ และมี จำนวนรวงหลายรวง ตั้งแต่      5-15 รวง มีประชากรประมาณ 5,000–30,000 ตัว ในธรรมชาติผึ้งโพรงที่พบในเมืองไทยจะสร้างรังในโพรงหินหรือโพรงไม้ต่าง ๆ ซึ่งต่อมาเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งได้ทำกล่องไม้ให้ผึ้งอาศัยอยู่ เพื่อความสะดวกต่อการเก็บน้ำผึ้ง ผึ้งโพรงจะให้น้ำผึ้งประมาณ 3-15 กิโลกรัมต่อรัง โดยเฉลี่ยประมาณ 7 กิโลกรัมต่อปีต่อรัง
  • ขนาดของผึ้งโพรง ขนาดลำตัวยาว 12 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 3.3 มิลลิเมตร ความยาวของลิ้น 4.80 – 5.60มิลลิเมตร

4.ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera)  

  • เป็นผึ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่มีอยู่ในเอเชีย เป็นผึ้งที่มีในยุโรปและอเมริกา มีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรงแต่เล็กกว่าผึ้งหลวง ลักษณะการดำรงชีวิตเหมือนผึ้งโพรง คือ จะทำรังในที่มืด   แต่เนื่องจากผึ้งพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรง   จำนวนประชากรมีจำนวนมากถึง 20,000–60,000 ตัวต่อรัง อุปนิสัยไม่ดุไม่ทิ้งรัง และมีการจัดการที่ดี ตลอดจนมีการศึกษาชีววิทยา พฤติกรรมของผึ้งพันธุ์อย่างละเอียด และมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยทำให้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ประสบความสำเร็จ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มกว่าถึงแม้จะต้องลงทุนสูง
  • ขนาดของผึ้งพันธุ์ ขนาดลำตัวยาว 16 มิลลิเมตร ส่วนอกกว้าง 4 มิลลิเมตร ความยาวของลิ้น     5.7 – 6.8มิลลิเมตร

ชีววิทยาของผึ้งพันธุ์

ลักษณะของผึ้ง

  • ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
  • ส่วนหัวอวัยวะรับความรู้สึก
  • ตารวม มีอยู่ 2 ตา ประกอบด้วยดวงตาเล็ก ๆ เป็นรูปหกเหลี่ยมหลายพันตารวมกัน เชื่อมติดต่อกันเป็นแผง   ทำให้ผึ้งสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้รอบทิศ
  • ตาเดี่ยว  เป็นจุดเล็ก ๆ  3 จุด อยู่ห่างกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนที่รับรู้ความเข้มของแสง

วรรณะของผึ้ง
วรรณะของผึ้ง แบ่งออกเป็น 3 วรรณะคือ

  1. ผึ้งนางพญา (TheQueen)

มีขนาดใหญ่ และมีลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้และผึ้งงาน   ปีกของผึ้งนางพญาจะมีขนาดสั้น  ผึ้งนางพญาจะมีเหล็กไน    การเคลื่อนไหวของผึ้งค่อนข้างเชื่องช้า แต่สุขุมรอบคอบ ผึ้งนางพญาจะมีหน้าที่สำคัญ
1. ผสมพันธุ์
2. วางไข่
3. ควบคุมสังคมของผึ้งให้อยู่ในสภาพปกติ

ผึ้งแยกรัง (Swarming)

  • ผึ้งงานป้องกันผึ้งนางพญาตัวใหม่ไม่ให้ผึ้งนางพญาตัวเก่ามาทำร้าย
  • ผึ้งนางพญาตัวเก่าแยกรังออกไปแล้ว
  • ผึ้งนางพญาใหม่เมื่อมีอายุได้ 3-5 วัน ก็จะเริ่มออกบินเพื่อผสมพันธุ์
  • การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นในระยะความสูงตั้งแต่ 50-100 ฟุต
  • ผสมพันธุ์กับผึ้งตัวผู้ครั้งหนึ่งประมาณ 7-10 ตัว หรืออาจถึง 20 ตัว
  • ผสมพันธุ์แล้ว ส่วนท้องของผึ้งนางพญาจะขยายใหญ่ขึ้นภายใน 2-4 วัน ผึ้งนางพญาก็จะเริ่มวางไข่
  • 2. ผึ้งตัวผู้ (The Drone)
  • ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่และตัวอ้วน
  • ผึ้งตัวผู้จะไม่มีเหล็กไน
  • ลิ้นจะสั้นมาก คอยรับอาหารจากผึ้งงาน หรือดูดกินน้ำหวานจากที่เก็บ
  •  ผึ้งตัวผู้จะเจริญมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม (Un-fertilized egg)
  • อายุประมาณ  16 วัน พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้

การผสมพันธุ์

  • ผึ้งตัวผู้จากรังผึ้งต่างๆ ในปริมาณใกล้เคียงกันจะบินออกจากรังไปรวมกลุ่มกัน ณ สถานที่ซึ่งเรียกว่า ที่รวมกลุ่มของผึ้งตัวผู้(Drone Congregation Area)
  • วันที่อากาศดี ท้องฟ้าสดใส
  • ผึ้งตัวผู้เข้าเมื่อผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญาแล้วผึ้งตัวผู้นั้นก็จะตกลงมาตาย
  • หมดฤดูผสมพันธุ์ไม่ได้ผสมพันธุ์ก็มักจะถูกไล่ออกจากรัง
  1. ผึ้งงาน(The Worker)  
  • ผึ้งงานเป็นผึ้งที่มีขนาดเล็กที่สุดภายในรังผึ้ง
  • ปริมาณมากที่สุด
  • กำเนิดมาจากไข่ที่ได้รับการผสมกับเชื้อตัวผู้(Fertilized egg)
  • ผึ้งงานเป็นเพศเมียเหมือน ผึ้งนางพญา แต่เป็นเพศเมียที่ไม่สมบูรณ์
  • ส่วนของรังไข่จะมีขนาดเล็กไม่สามารถสร้างไข่ได้
  • ยกเว้นในกรณีที่รังผึ้งรังนี้เกิดขาดนางพญา*ไข่ที่เป็นผึ้งตัวผู้
  • มีต่อมไขผึ้ง ตะกร้อเก็บเกสร ต่อมกลิ่น

พฤติกรรมภายในรังผึ้ง

  1. การสร้างรวง(Comb Building)

ไขผึ้ง คือ วัสดุที่ผึ้งใช้ในการสร้างรวง ไขผึ้งถูกผลิตขึ้นมาจากต่อมผลิตไขผึ้งอยู่ที่ด้านล่างของปล้องท้องปล้องที่ 3-6 ของผึ้งงานปล้องละ 1 คู่ โดยจะมีทั้งหมด 4 คู่ ผึ้งงานที่ผลิตไขผึ้งได้โดยทั่วไป จะมีอายุอยู่ระหว่าง 12-17 วัน ไขผึ้งที่ผลิตออกมาจะเป็นเกล็ดบาง ๆ สีขาวใส มีขนาดเล็ก โดยผึ้งงานจะต้องกินน้ำหวานเป็นปริมาณมากมีผู้คำนวณว่าโดยเฉลี่ย ผึ้งจะใช้น้ำหวานประมาณ 8.4 กก. ในการผลิตไขผึ้ง 1 กก.

  1. การเลี้ยงดูตัวอ่อน(Nursing)
  • อายุได้ประมาณ 3 – 11 วัน ผึ้งงานจะเป็น ผึ้งพยาบาล หรือเลี้ยงดูตัวอ่อนหลังจากฟักออกมาเป็นตัวเต็มวัย ต่อมพี่เลี้ยงที่อยู่โคนกล้ามทั้ง 2 ข้างจะค่อย ๆ ฝ่อไป ผึ้งก็จะเปลี่ยนหน้าที่ไป
  • เยี่ยมดูแลไข่ทันทีที่ผึ้งนางพญาวางไข่ หรือจากนั้นไข่นั้นก็จะถูกตรวจเยี่ยมโดยผึ้งพยาบาลบ่อยครั้ง ในระยะไข่จนถึงระยะตัวหนอน
  • ในช่วงอายุตัวหนอน 2 วันแรก หลังจากฟักออกจากไข่ ผึ้งพยาบาลจะให้อาหารแก่ตัวหนอนมากจนเกินพอเราจึงเห็นคล้ายกับตัวหนอนลอยอยู่ในอาหารที่คล้ายน้ำนมสีขาว พอตัวหนอนอายุได้ 3 วัน อาหารที่มีอยู่ก็ถูกใช้ไปจนถึงวันที่ 4 อาหารที่ตัวหนอนลอยอยู่นั้น ก็จะถูกกินหมด ตัวหนอนก็ต้องคอยให้ผึ้งพยาบาล  มาป้อน
  1. การป้อนน้ำหวาน(Food Sharing)
  • ผึ้งสามารถจะกินน้ำหวานที่อยู่ในหลอดรวงได้ด้วยตัวเอง
  • ผึ้งจะป้อนน้ำหวานซึ่งกันและกัน
  • ผึ้งนางพญาและผึ้งตัวผู้แทบจะไม่พบเลยว่ากินอาหารด้วยตัวเอง ต้องอาศัยผึ้ง  งานมาป้อนให้เสมอ
  • การป้อนน้ำหวานจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการสื่อสารกันอย่างหนึ่ง สามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วรังผึ้งในเวลาอันรวดเร็ว
  • เกสรจะไม่มีการป้อนกัน ถ้าผึ้งต้องการกินเกสรก็จะไปกินเองจากหลอดรวงที่เก็บละอองเกสร
  1. การป้องกันรัง(Guard Duty)
  • โดยทั่วไปผึ้งที่มีหน้าที่ป้องกันรังมักจะพบอยู่บริเวณปากทางเข้ารังผึ้ง
  • แต่ในฤดูดอกไม้บาน(Honey Flow) จะมีผึ้งทหารอยู่ที่ปากทางเข้ารังน้อย แต่ถ้าเป็นฤดูที่น้ำหวานน้อยจะพบผึ้งทหารอยู่ที่ทางเข้ามากในฤดูนี้จึงค่อนข้างดุ
  • ผึ้งทหารที่เฝ้าอยู่หน้ารังจะยืนในลักษณะที่ยืนบนขาคู่หลัง2 คู่ ส่วนขาหน้ายกขึ้นจากพื้น หนวดชี้ไปข้างหน้ากรามทั้ง 2 ข้าง จะหุบเข้าหากัน แต่ถ้าผึ้งเกิด ตกใจขึ้นมาก็จะกางกรามออก ปีกคลี่ออก

     เตรียมพร้อมที่จะเข้าโจมตีศัตรู ผึ้งทหารจะใช้เวลาตรวจสอบผึ้งที่  เข้ามาในรังประมาณ 1-3 วินาที โดยจะใช้หนวดแตะตามลำตัว

การเก็บเกสร

  • เกสรผึ้งจะใช้เป็นแหล่งของโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินต่าง ๆ เพื่อใช้ในการผลิตเป็นอาหารของตัวอ่อนของผึ้ง และผึ้งที่เป็นตัวเต็มวัยใหม่ ๆ ผึ้งเก็บเกสรดอกไม้ด้วยการเอาตัวลงไป คลุกเคล้ากับเกสรดอกไม้ เกสรก็จะติดที่ขนตามตัวผึ้ง ผึ้งก็จะใช้หวีที่อยู่ที่ขา มีลักษณะเป็นขนแข็งเรียงเป็นแถว ผึ้งจะใช้หวีนี้คราดไปตามลำตัวเอาเกสรไปอัดรวมเก็บไว้ที่ตะกร้อเก็บเกสรที่ขาหลังทั้ง 2 ข้าง ผึ้งงานจะเก็บเกสรในเวลาเช้า ทั้งนี้เพราะต้องมีความชื้นพอที่จะปั้นเกสรเป็นก้อนได้ ถ้าอากาศแห้งผึ้งก็ไม่สามารถเก็บเกสรได้
  • เมื่อผึ้งงานเก็บเกสรได้จนเต็มก็จะรีบบินกลับรัง และหาหลอดที่ต้องการแล้วก็จะหย่อนขาคู่หลังลงไปในหลอดรวง แล้วใช้ขาคู่กลางค่อย ๆ เขี่ยก้อนเกสรให้หลุดออก ก้อนเกสรก็ตกลงไปที่ก้นหลอดรวง แล้วก็เป็นหน้าที่ของผึ้งงานที่ดูแลรังจะมาอัดเกสรให้ติดแน่นอยู่ที่ก้นรังอีกที่หนึ่ง โดยผึ้งจะผสมน้ำหวาน และน้ำลายลงไปในเกสรด้วย ทำให้เกสรนี้ไม่บูดหรือเสียสามารถเก็บได้เป็นเวลานาน แต่สีของเกสรจะเข้มขึ้น

การเก็บน้ำหวาน

  • น้ำหวานเป็นอาหารสำคัญอีกชนิดหนึ่งของผึ้งเพื่อใช้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล น้ำหวาน(Nectar) เป็นของเหลวที่มีรสหวานที่ผึ้งสกัดออกจากต่อมน้ำหวานที่อยู่ในดอกไม้ เพื่อที่จะเป็นรางวัลแก่ผึ้งหรือแมลงชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยผสมเกสรให้เกสรแต่ต้นพืชนั้น
  • ผึ้งเก็บน้ำหวานโดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว ดูดเอาน้ำหวานจากดอกไม้ น้ำหวานจะถูกเก็บไว้ในกระเพาะสำหรับเก็บน้ำหวานโดยเฉพาะ ผึ้งจะบินไปดูดน้ำหวานจากดอกไม้หลาย ๆ ดอก หรือหลายชนิดก็ได้ เพื่อเก็บน้ำหวานได้เต็มกระเพาะแล้วก็บินกลับรัง ผึ้งก็จะทำการเต้นรำเพื่อบอกแหล่งอาหารแก่ผึ้งตัว   อื่น ๆ ถ้าแหล่งของน้ำหวานมีไม่มากก็จะไม่มีการเต้นรำ ผึ้งก็จะเดินไปบนรวงจนเจอกับผึ้งแม่บ้าน ก็จะคาย น้ำหวานออกให้เพื่อนำไปเก็บในหลอดรวง หรือนำไปเลี้ยงตัวอ่อนเลยก็ได้ จะคายน้ำหวานที่หามาได้ให้แก่ผึ้งแม่บ้านตัวเดียวทั้งหมดก็ได้ แต่ส่วนมากมักจะพบว่า ผึ้งจะคายน้ำหวานให้ผึ้งแม่บ้าน 3 ตัวขึ้นไป น้ำหวานที่ถูกเก็บไว้ในหลอดรวงก็จะถูกทำให้เข้มข้นขึ้นโดยการระเหยเอาน้ำออก ไม่ควรมีความชื้นหรือน้ำผสมอยู่เกินร้อยละ 21

การเก็บน้ำ

  • ผึ้งใช้น้ำทำประโยชน์หลายอย่างภายในรังผึ้งพยาบาลต้องการน้ำ เพื่อใช้ผสมกับน้ำผึ้งให้
  • เจือจางลง เพื่อใช้ในการทำอาหารสำหรับตัวอ่อน และน้ำก็จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของผึ้ง ตัวเต็มวัย เช่นเดียวกัน ทำการช่วยลดอุณหภูมิภายในรัง โดยผึ้งจะคายน้ำไว้ตามรวงทั่ว ๆ ไป แล้วก็จะทำการกระพือปีกให้น้ำระเหยออกมาทำให้รังผึ้งนั้นเย็นลง

การเก็บยางไม้

  • ยางไม้ (Propolis) เป็นวัสดุที่มีความเหนียวที่ผึ้งขนเข้าไปใช้ในรังเก็บเพื่อใช้เคลือบผนังรังใช้ยึดคอนผึ้งให้แน่น ใช้อุดรู รอยแตกต่างๆ ใช้ปิดปากทางเข้ารังให้เล็กลง หรือใช้หุ้มสัตว์ตัวใหญ่ที่เกิดตายอยู่ในรัง ที่ผึ้งไม่สามารถขนออกไปทิ้งได้ เช่น พวกจิ้งจก ยางไม้ที่หุ้มตัวสัตว์นี้จะทำให้สัตว์ตัวนั้นไม่เน่า