ชันโรง

ชันโรงเป็นชื่อเรียกแมลงจำพวกผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน  จากการศึกษาพบว่าในปะเทศไทยได้มีการค้นพบพันธุ์ชันโรง  จำนวน  23  ชนิด  กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย  ชันโรงมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละภาคของประเทศไทย   ภาคกลางเรียกรวม ๆ กันว่าชันโรง ภาคเหนือเรียกชันโรงตัวเล็กว่าขี้ตั๋งนี  เรียกชันโรงตัวใหญ่ว่าขี้ย้า ภาคตะวันออกเรียกว่าอีโลม ภาคตะวันตกเรียกว่าตุ้งติ้ง ภาคอีสานเรียกว่าขี้สูดสำหรับชันโรงที่ทำรังใต้ดินและภาคใต้เรียกแมลงอุง  เป็นต้น

ชันโรงมีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรพืชโดยเฉพาะพืชป่าและพืชพื้นเมือง  ชันโรงเป็นแมลงที่อยู่รวมกันเป็นสังคม  มีการสร้างรวงรัง  โดยแบ่งเป็นสัดส่วน  เป็นเซลล์หรือกระเปาะ  ระหว่างกระเปาะเก็บเกสร  กระเปาะเก็บน้ำหวาน  และกระเปาะสำหรับวางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อน  ชันโรงมีการเก็บรักษาอาหารไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลนอาหารตามธรรมชาติ

ภายในรัง ชันโรงจะประกอบไปด้วยชันโรง  3 วรรณะเช่นเดียวกันกับผึ้ง  คือ วรรณะชันโรงนางพญา  วรรณะชันโรงตัวผู้และวรรณะชันโรงงาน   ชันโรงมีวงจรชีวิตเช่นเดียวกับผึ้งคือ  ไข่  หนอน  ดักแด้ และตัวเต็มวัย

มีหน้าที่ในการวางไข่  และควบคุมรัง  เซลล์ของนางพญาจะมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ของชันโรงงาน  จะถูกสร้างขึ้นมาเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์  เช่น  ฤดูดอกไม้บาน  ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงสำหรับการขยายพันธุ์ของชันโรง  จากการศึกษา ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด นางพญาของชันโรงผสมพันธุ์กับชันโรงตัวผู้ภายนอกรังหรือผสมพันธ์กันภายในรัง

ชันโรงตัวผู้

มีจำนวนโคโมโซมชุดเดียว  (n)   มีจำนวนปล้องหนวด 12 ปล้อง  มีตารวมใหญ่กว่าชันโรงงาน  มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับชันโรงนางพญาเพียงอย่างเดียว  เหมือนกับผึ้งตัวผู้  การสร้างชันโรงเพศผู้ของรัง  จะสร้างเฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น  เมื่อชันโรงตัวผู้บินออกจากรังไปแล้วจะไม่กลับเข้ารังอีก  เนื่องจากชันโรงงานที่ทำหน้าที่รักษารังจะไม่ยอมให้ชันโรงตัวผู้กลับเข้ารัง

ชันโรงงาน

เป็นวรรณะที่มีมากที่สุดภายในรัง  และมีหน้าที่ภายในรังเช่นเดียวกับผึ้งงานโดยมีการแบ่งหน้าที่ตามช่วงอายุ  เช่น  เมื่อมีอายุน้อยจะมีหน้าที่ทำความสะอาดรัง   สร้างและซ่อมแซมรวงรัง เลี้ยงดูตัวอ่อน   ป้อนอาหารให้ชันโรงนางพญา    และป้องกันรักษารังตามลำดับ  ส่วนพวกที่มีอายุมากก็จะทำหน้าที่บินออกไปหาอาหารเพื่อนนำมาเก็บสะสมไว้ภายในรังต่อไป

รังของชันโรง

ชันโรงมีการสร้างรังที่แตกต่างจากผึ้งพันธุ์ โดยสามารถจำแนกความแตกต่างตามตาราง

ความแตกต่าง ผึ้งพันธุ์ ชันโรง
ช่องว่างรัง ไม่มีการปิดช่องว่างภายในรัง ใช้ cerumen ปิดช่องว่างภายในรัง เหลือทางเข้ารังไว้
ทางเข้ารัง ไม่มีการสร้างปากทางเข้ารัง มีการสร้างปากทางเข้ารังที่มีลักษณะเป็นท่อ
การออกแบบการสร้างรัง เซลล์ตัวอ่อนและเซลล์เก็บอาหารมีลักษณะเหมือนกัน เซลล์ตัวอ่อนมีขนาดเล็กกว่าและมีลักษณะแตกต่างจากเซลล์เก็บอาหาร
ลำดับขั้นตอนการขยายขนาดรัง ขยายรังลงข้างล่าง ขยายรังขึ้นข้างบน  ยกเว้นในสกุลDactylurina
การสร้างเซลล์ สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันและไม่มีความสัมพันธ์เชื่อมกันกับช่องที่เก็บอาหารและการวางไข่ สร้างทีละเซลล์  มีความสัมพันธ์

เชื่อมกันกับช่องที่เก็บอาหารและการวางไข่

การใช้หลอกเซลล์เก่า พบปกติ ไม่พบ

การสร้างรังของชันโรง

  1. การสร้างรังในโพรงต้นไม้ที่มีชีวิต  เนื่องจากต้นไม้อาจถูกทำลายจากศัตรู เช่น หนอนเจาะลำต้นทำให้เกิดโพรงไม้พบมากในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์  ชันโรงที่พบได้แก่  ขี้ย้าแดง
  2. สร้างรังใต้ดิน  โดยอาศัยจอมปลวกเก่าหรือโพรงใต้ดินโดยทำปล่องหรือปากทางเข้าออกเป็นท่อ
  3. สร้างรังในโพรงต้นไม้ที่ไม่มีชีวิต  เป็นชันโรงชนิดที่พบได้ทั่วไปและเป็นชนิดที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
  4. สร้างรังในโพรงเทียม เช่นในไห  กระบอกไม้ไผ่  ท่อน้ำ  หรือรอยแตกของผนังบ้าน  กำแพง ฯลฯ เป็นชันโรงที่อยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์
  5. สร้างรังในลักษณะเปิดโล่ง  โดยเข้าไปแย่งรังมดในการอาศัยมีเพียงชนิดเดียวที่ทำรังในลักษณะนี้

โครงสร้างรังของชันโรง

                1.ปากทางเข้ารัง  มีหลายลักษณะเช่น เป็นหลอดหรือปล่อง เป็นรูปปากแตร หรือเป็นรูเล็ก ๆ มียางเหนียว ๆ บริเวณปากทางเข้าออกรัง  ชันโรงสามารถผ่านเข้าออกรังได้ครั้ง 2- 3 ตัว

  1. โครงสร้างภายในรังของชันโรง

ชันโรงมีการสร้างห้องหรือเซลล์ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระเปาะแบ่งแยกกันตามประโยชน์ใช้สอย  คือ มีการสร้างกระเปาะเก็บเกสร  กระเปาะเก็บน้ำหวาน กระเปาะสำหรับวางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อน   โดยมีการสร้างแบ่งออกเป็นประเภทต่างตามชนิดของชันโรงคือ

–  แบบรวมกลุ่มเป็นรูปตัว L

                                –  สร้างรวงตามแนวนอน

                                –  สร้างรวงตามแนวตั้ง

                                –  สร้างรวงแบบเอียงข้างเป็นแนวนอน

วิธีการแยกขยายชันโรง

ในปัจจุบัน  เรายังไม่สามารถแยกขยายรังชันโรงโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้เหมือนกับการแยกขยายรังของผึ้งพันธุ์  เนื่องจากยังไม่สามารถสร้างนางพญาของชันโรงโดยวิธีย้ายตัวอ่อนได้แต่สามารถขยายพันธุ์โดยอาศัยวิธีการแบบธรรมชาติซึ่งยังขาดประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ชันโรง   อนึ่งในการขยายพันธุ์ชันโรงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญ  คือ ต้องอยู่ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมกล่าวคือ  ชันโรงรังนั้น ๆ มีความต้องการที่จะขยายรังอยู่แล้วทำได้ดังนี้

  1.   จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการขยายรังชันโรง 

                                –  รังที่จะทำการแยกขยาย

                                –  เหล็กงัดรังชนิดเดียวที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้ง

                                –  หมวกตาข่าย

                                –  เครื่องพ่นควัน

                                –  กระบอกพ่นน้ำชนิดพ่นฝอย

  1.   คัดเลือกรังชันโรงที่สมบูรณ์แข็งแรงมีประชากรชันโรงหนาแน่นมีการสะสมอาหารและน้ำหวานไว้ภายในรังจำนวนมากมีการสร้างเซลล์นางพญาและเซลล์ตัวอ่อน
  2.   ตัดแบ่งกระเปาะเกสร  กระเปาะน้ำหวาน  กระเปาะตัวอ่อน  ประมาณ 1 ใน 3  ของรังเดิมถ้าพบเซลล์นางพญาให้ตัดมาด้วย  และให้มีตัวเต็มวัยของชันโรงติดมาด้วยเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ในรังที่แยกใหม่
  3.  ควรตรวจเช็คส่วนที่แยกใส่รังใหม่ให้แน่ใจว่าไม่มีนางพญาชันโรงตัวเดิมติดมาด้วย
  4.  หลังจากนั้นจากเกิดขบวนการสร้างนางพญาชันโรงตัวใหม่ขึ้นตามธรรมชาติโดยจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการแยกขยายรังชันโรงประมาณ 30 – 40 %
  5.  ช่วงเวลาที่แยกขยายรังชันโรงคือ  ช่วงฤดูดอกไม้บานมีการสะสมอาหารไว้ภายในรังเป็นจำนวนมากและภายในรังได้มีการสร้างชันโรงตัวผู้จำนวนมากสำหรับการผสมพันธุ์กับนางพญาชันโรงตัวใหม่

การทำการแยกขยายพันธุ์ชันโรง  ยังไม่มีวิธีการที่ให้ผลแน่นอนขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลอง  ดังนั้นการแยกขยายพันธุ์ชันโรงยังต้องอาศัยประสบการณ์ช่วงเวลาและโอกาสที่เอื้ออำนวยของธรรมชาติเป็นสำคัญ