จิ้งหรีด

จิ้งหรีด เป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด  มีตารวม  หนวดยาว ขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และแข็งแรง  เพศเมียปีกเรียบและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง   เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่นสามารถทำเสียงได้   จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก   โดยเฉพาะเขตร้อนอย่างประเทศไทย  จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบของพืช ส่วนที่อ่อนๆ  เป็นอาหาร  จิ้งหรีดมีหลายชนิด  หลายขนาดแตกต่างกันไป  พฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ง่ายคือ  การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ

ปัจจุบันคนนิยมบริโภคจิ้งหรีดเป็นอาหาร  เพราะมีโปรตีนสูง  ปลอดสารพิษ ในธรรมชาติจะหาจิ้งหรีดมาเพื่อบริโภคได้ไม่มากนัก  บางฤดูมีมาก  บางฤดูแทบจะหาไม่ได้เลย  เช่นฤดูหนาว  จิ้งหรีดจะขยายพันธุ์ช้า  หากมีการจัดการที่ดี  จะมีจิ้งหรีดไว้บริโภคหรือจำหน่ายได้ตลอดปี

จิ้งหรีดที่พบในประเทศ

ไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมี  5  ชนิด  คือ

  1. จิ้งหรีดทองดำ   ลำตัวกว้างประมาณ  0.70 ซม. ยาวประมาณ  3  ซม.  ที่พบตามธรรมชาติมี 3 สี  คือสีดำ  สีทอง  สีอำพัน  โดยลักษณะที่เด่นชัดคือ  จะมีจุดเหลืองที่โคนปีก  2 จุด
  2. จิ้งหรีดทองแดง   ลำตัวกว้างประมาณ  0.60  ซม. ยาวประมาณ 3 ซม.  มีลำตัวสีน้ำตาล เพศผู้มีสีเข้มกว่าเพศเมีย  ส่วนหัวเหนือขอบตารวมด้านบน แต่ละด้านมีแถบสีเหลือง มองดูคล้ายหมวกแก็ป   มีความว่องไวมาก  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกจิ้งหรีดนี้เป็นภาษาท้องถิ่นว่า  จินาย  อิเจ๊ก  จิ้งหรีดม้า  เป็นต้น
  3.  จิ้งหรีดเล็ก   มีขนาดเล็กที่สุดสีน้ำตาล  บางท้องที่เรียกว่า  จิลอ  จิ้งหรีดผี  หรือแอ้ด เป็นต้น  ลักษณะคล้ายจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีขนาดประมารหนึ่งในสามของจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง
  4. จิ้งโกร่ง    เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่  สีน้ำตาล  ลำตัวกว้างประมาณ 1 ซ.ม.  ยาวประมาณ  3.50  ซ.ม. ชอบอยู่ในรูลึก  โดยจะขุดดินสร้างรังอาศัยได้เอง  และมีพฤติกรรมชอบอพยพย้ายที่อยู่เสมอ  มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป  เช่น  จิโปม  จิ้งกุ่ง  เป็นต้น
  5. จิ้งหรีดทองแดงลาย    มี 2 ชนิดคือ  ชนิดที่ปีกครึ่งตัว  และชนิดที่มีปีกยาวเหมือนจิ้งหรีดทั่วไป ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม  ลำตัวกว้างประมาณ 0.53  ซ.ม.   ยาวประมาณ 2.05  ซม.  ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง

ประโยชน์ของการเลี้ยงจิ้งหรีด

โยชน์การเลี้ยงจิ้งหรีด

  1. เป็นทางเลือกหนึ่งในการประกอบอาชีพ
  2. เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารปลอดสารพิษไว้บริโภค
  3. เป็นกิจกรรมยามว่าง  ส่งเสริมสุขภาพจิต  โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ
  4. เป็นอาหารสัตว์  เช่น ไก่  กบ เป็ด  ปลา และอื่น ๆ
  5. ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป่อง  (จิ้งหรีดกระป๋อง)
  6. เพื่อการกีฬา  เช่น ใช้เป็นเหยื่อตกปลา

ชีววิทยาของจิ้งหรีด

จิ้งหรีดพันธุ์ทองแดงลาย  รูปร่างลักษณะเป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก  ตัวเต็มวัยสีน้ำตาลเข้ม  ลำตัวกว้าง  ประมาณ 0.53  เซนติเมตร  ยาวประมาณ  2.05  เซนติเมตร   ตัวเต็มวัยเหมือนพันธุ์ทองแดงแต่เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง  ลักษณะนิสัย  กินอาหารเก่ง โตไว  ไม่ชอบบิน  เดินนุ่มนวลน่ารัก

วิต

ไข่   มีสีขาวนวล  ลักษณะเรียวยาวคล้ายเม็ดข้าวสาร  ไข่เมื่อฟักนาน ๆ จะมีสีเหลืองและดำ  ก่อนจะฟักออกเป็นตัวอ่อน  ใช้เวลาประมาณ 13-14  วัน  ถ้าเป็นฤดูหนาวประมาณ  20  วัน

ตัวอ่อน   ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ  มีสีครีมต่อมาเปลี่ยนเป็นสีดำละมีลายม่วง  มีการลอกคราบ 7  ครั้ง  ระยะตัวอ่อนประมาณ  40  วัน

ตัวเต็มวัย   อายุ 40 วันขึ้นไป  มีสีน้ำตาลเข้ม  ตัวเล็กกว่าพันธุ์ทองแดง

เพศผู้  ปีกคู่หน้าย่น  สามารถทำให้เกิดเสียงได้  โดยใช้ปีกคู่หน้าถูกัน  เสียงที่จิ้งหรีดทำขึ้นเป็นการสื่อสารที่มีความหมายของจิ้งหรีด

เพศเมีย  ปีกคู่หน้าเรียบ  และมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลม  คล้ายเข็มยาวประมาณ  1.50  เซนติเมตร

การทำเสียงของเพศผู้  เกิดจากการใช้ปีกคู่หน้าถูหรือสีกัน  ปกติปีกจะทับกันเหนือลำตัว  เพศผู้ปีกขวาจะทับปีกซ้าย  ส่วนเพศเมียปีกซ้ายจะทับปีกขวา  เวลาร้องจะยกปีกคู่หน้าขึ้นใช้ขอบของโคนปีกซ้าย  ถูหรือสีกับฟันซี่เล็ก ๆ  ที่เรียงกันเป็นแถวที่โคนด้านในของปีกขวา  พร้อม ๆ กับการโยกตัว  เสียงร้องจะบ่งบอกถึงพฤติกรรมของจิ้งหรีดในขณะนั้น  เช่น

ลักษณะเสียง การแสดงพฤติกรรม
1. กริก…….กริก….กริก…นานๆ อยู่โดดเดี่ยว  ต้องการหาคู่หรือหลงบ้าน บางครั้งพเนจรร้องไปเรื่อย  ๆ
2. กริก…กริก..กริก…เบา ๆ และถี่ ติดต่อกัน ต้องการผสมพันธุ์  ตัวผู้จะถอยหลังเข้าหา ตัวเมียเพื่อขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์
3. กริก…กริก…กริก…ยาวดัง ๆ  2-3  ครั้ง โกรธ  หรือแย่งความเป็นเจ้าของ
4. กริก….กริก…กริก…ลากเสียงยาวๆ ประกาศอาณาเขต  หาที่อยู่ได้แล้ว

การผสมพันธุ์

เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยประมาณ  3-4  วัน  ก็จะเริ่มผสมพันธุ์  ตัวผู้จะส่งเสียงร้องเรียกหา

ตัวเมีย   ตอนแรกจะเสียงดังและร้องเป็นช่วงยาว ๆ   เพื่อให้ตัวเมียเข้ามาอยู่ใกล้ ๆ    จิ้งหรีดจะอาศัย

เสียงร้องเท่านั้น จึงจะเห็นเพศตรงกันข้าม  เนื่องจากสายตาไม่ดี  หนวดรับการสัมผัสไม่ค่อยดี  จะสังเกตได้เมื่อตัวเมียเกาะอยู่นิ่ง ๆ ตัวผู้จะร้องเดินผ่านไปทั้ง ๆ ตัวเมียอยู่ใกล้   เมื่อพบตัวเมียแล้วเสียงร้องจะเบาลงและเป็นจังหวะสั้น ๆ  กริก…..กริก…..กริก……  ถอยหลังเข้าหาตัวเมีย  เพื่อให้ตัวเมียขึ้นคร่อมรับการผสมพันธุ์  ใช้เวลาประมาณ  10-15  วินาที  โดยตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศเมีย  และปล่อยถุงน้ำเชื้อมีลักษณะปลายเป็นลูกศรออกไปติดที่อวัยวะเพศเมีย  หลังจากนั้น  ถุงน้ำเชื้อจะฝ่อลง  ตัวเมียจะใช้ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป

การวางไข่

หลังจากผสมพันธุ์แล้ว 3-4  วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่โดยใช้อวัยวะที่ยาวแหลมคล้ายเข็มความยาวประมาณ  1.50 ซม.  แทงลงในดินลึก 1-1.50  ซม.  และวางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-4 ฟอง  ตัวเมีย 1 ตัวจะวางไข่ได้ประมาณ  1,000-1,200  ฟอง ปริมาณไข่สูงสุดช่วงวันที่ 15-16  นับจากการผสมพันธุ์  จากนั้นไข่จะลดลงเรื่อยๆ  จนหมดอายุขัย

การเลี้ยงจิ้งหรีด

  1. บ่อจิ้งหรีด

วัสดุที่จะนำมาเป็นสถานที่เพาะเลี้ยง  เช่น  บ่อซีเมนต์  กาละมัง  ปิ้ป  โอ่ง  ถังน้ำ  เป็นต้น

  1. เทปกาว/หรือพลาสติกใส หน้ากว้าง 2.5นิ้ว

ใช้ติดรอบในด้านบนเพื่อป้องกันไม่ให้จิ้งหรีดออกนอกบ่อ  ใช้พลาสติกกว้างประมาร 5 เซนติเมตร  ให้ยาวเท่าเส้นรอบวง

  1. ยางรัดปากวง

ใช้ยางในรถจักรยานยนต์  ตัดให้มีขนาดกว้างน้อยกว่าขอบวงด้านนอก  เพื่อความสะดวกเมื่อเวลายืดรัดตาข่ายกับขอบวง

  1. ตาข่ายไนล่อนสีเขียว

เป็นตาข่ายสำหรับปิดปากบ่อจิ้งหรีด  ป้องกันการบินหนีของจิ้งหรีดและป้องกันศัตรูเข้าทำลายจิ้งหรีด  ตัดให้มีขนาดใหญ่กว่าบ่อจิ้งหรีดเล็กน้อย

5.ที่หลบภัย

ใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว  อาศัยอยู่ เช่น  ถาดไข่ชนิดที่เป็นกระดาษ  ไม่ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ  เข่งปลาทู

  1. ถาดให้อาหาร

ควรเป็นถาดที่ไม่ลึกมาก  เพื่อให้จิ้งหรีดได้ขึ้นกินอาหารได้สะดวก

  1. ภาชนะให้น้ำ

ใช้ที่ให้น้ำสำหรับไก่เล็ก  และต้องมีหินวางไว้สำหรับให้จิ้งหรีดเกาะ ไม่ตกน้ำ

  1. ถาดไข่

สำหรับใช้เป็นที่วางไข่  โดยใช้ขันอาบน้ำทั่ว ๆ ไป วัสดุที่ใส่  ใช้ขี้เถ้าแกลบดำ  รดน้ำให้ชุ่ม

การจัดการ

  1. สถานที่เลี้ยงต้องป้องกันแสงแดดและฝนได้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เช่น  โรงเรือนเลี้ยง  ใต้ถุนบ้าน  ชายคาบ้าน  เป็นต้น
  2. พ่อแม่พันธุ์จิ้งหรีด  ได้จากจิ้งหรีดตัวเต็มวัยที่ผสมพันธุ์แล้ว  โดยไม่ต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  ใน  1 บ่อ มีประมาณ  8,000   ตัวแต่ต้องเปลี่ยนพ่อแม่พันธุ์จิ้งหรีดจากแหล่งอื่นมาผสมพันธุ์ป้องกันเลือดชิด
  3. การขยายพันธุ์วางถาดไข่สำหรับวางไข่ 4-6 อัน เมื่อครบ 2  วัน  ย้ายถาดไข่ออกแล้ววางถาดไข่อันใหม่อีก 4-6  อัน  จะได้จิ้งหรีดที่เป็นรุ่นเดียวกัน ใน 1 บ่อ  สามารถวางถาดไข่ได้ 2-3  ครั้ง
  4. การให้น้ำให้ดูขวดที่ใส่น้ำถ้าแห้งให้เติมใหม่  ถ้าสกปรกให้ล้างออก  หรือใช้ต้นกล้วยดิบตัดเป็นท่อน ๆ แตงชนิดต่างๆ  เช่น  แตงกวา  แตงโม  น้ำเต้า  ให้จิ้งหรีดดูดกินน้ำ  เมื่อตัวเล็ก ๆ
  5. การให้อาหาร  อาหารหลักได้แก่ ผักชนิดต่าง ๆ เช่นผักกาด  กะหล่ำ  หญ้า  มะละกอ  อาหารรองใช้อาหารไก่ผสมกับแกลบอ่อน  อัตรา 1:1   เมื่อจิ้งหรีดอายุ 40-50  วัน พร้อมที่จะนำมาบริโภคและจำหน่ายต่อไป
  6. เมื่อจับจิ้งหรีดหมดบ่อแล้ว  ให้ทำความสะอาดบ่อเลี้ยงโดยการเก็บวัสดุรองพื้นบ่อออกให้หมด  ส่วนขวดน้ำ  ถาดอาหาร  ถาดไข่ ที่หลบภัย  ทำความสะอาดสามารถนำมาใช้ได้อีกพักบ่อเลี้ยงจิ้งหรีด  อย่างน้อย 7วัน

ละศัตรูของจิ้งหรีด

จิ้งหรีดเป็นแมลงที่ไม่ค่อยมีโรคและศัตรูมารบกวนมากนัก  ควรป้องกันไว้ก่อนดีกว่าการกำจัด  ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจิ้งหรีดและผู้บริโภค

โรคทางเดินอาหาร   เกิดจากจิ้งหรีดได้รับอาหารที่ไม่สะอาด เกิดเชื้อรา  วิธีป้องกันคือ  การให้อาหารที่มีจำนวนพอเหมาะกับจำนวนจิ้งหรีด  เมื่อเก็บผลผลิตหมดแล้วควรทำความสะอาดบ่อ  ก่อนนำจิ้งหรีดรุ่นใหม่มาเลี้ยง วัสดุอุปกรณ์การเลี้ยงต้องล้างฆ่าเชื้อทุกชนิด  โดยฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทิ้งไว้อย่างน้อย  30  วัน   แผงกระดาษที่อยู่อาศัยให้เผาทิ้ง  ตัวจิ้งหรีดให้เผาทำลาย

สัตว์ศัตรู   เช่น มด  จิ้งจก  ไร  แมงมุม  ป้องกันโดยใช้ตาข่ายคลุมให้มิดชิด